DCA และ VA เข้าใจได้สั้นๆ แต่ใช้ได้ยาวๆ
มาทำความรู้จักกับ DCA และ VA กัน
Dollar Cost Average (DCA) กำหนดการลงทุนที่ต้นทาง ลงทุนจำนวนที่เท่าเดิมต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เช่น ลงทุนเดือนละ 2,000 บาท ทุกเดือน ไม่สนราคาหุ้นจะขึ้นหรือลง ก็ยังคงลงเงินเท่าเดิมต่อไป ไม่ต้องรอคอยจับจังหวะในการเข้าซื้อ สร้างวินัยสำหรับการลงทุนได้ดี ในช่วงราคาแพงซื้อได้จำนวนหุ้นน้อย ในช่วงราคาถูกได้จำนวนหุ้นเยอะ จำนวนเงินคงที่ไม่มีเปลี่ยนแปลงทำให้วางแผนทางการเงินได้ง่ายที่สุด เหมาะกับคนนักลงทุนแรกเริ่มที่สนใจในการลงทุนแต่ยังไม่มีประสบการณ์ ผลตอบแทนอยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้ ขึ้นอยู่กับการเลือกหุ้นที่ใช้ในการลงทุน
Value Averaging (VA) กำหนดการลงทุนที่ปลายทาง มูลค่าของสินทรัพย์ในพอร์ตที่ต้องการให้เพิ่ม ต่อช่วงเวลาการลงทุน เช่น ต้องการให้มูลค่าในพอร์ตลงทุนโตเพิ่มเดือนละ 2,000 บาท ทุกเดือน โดยหากมูลค่าในพอร์ตลงทุนโตถึงหรือไม่ถึงกำหนดก็ใช้เงินส่วนต่างของมูลค่าในพอร์ตลงทุนเพิ่มเข้าไปให้ครบเป้ากำหนด ช่วงราคาขึ้นลงเงินน้อย ช่วงราคาลดลง ลงเงินเพิ่มเยอะขึ้น หากมูลค่าในพอร์ตลงทุนโตเกินเป้าสามารถขายส่วนเกินเผื่อนำมาใช้เป็นทุนในช่วงที่ต้องซื้อครั้งต่อไปได้ วางแผนการเงินยากกว่าแบบ DCA เพราะต้องมีเงินสำรองเพียงพอเนื่องจากบางช่วงอาจจะต้องลงเงินเพิ่มมากกว่าเดิมเยอะพอสมควรเพื่อให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ในแต่ละเดือน เหมาะกับผู้ที่มีทักษะความรู้และประสบการณ์ในการลงทุนมาบ้างแล้ว ผลตอบแทนอยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้ ขึ้นอยู่กับการเลือกหุ้นที่ใช้ในการลงทุน
ไม่ว่าจะการลงทุนแบบ DCA หรือ การลงทุนแบบ VA ทั้งสองรูปแบบการลงทุนนี้เหมาะสำหรับการลงทุนในระยะยาวเท่านั้น ดังนั้นผู้ที่สนใจจะลงทุนในสองรูปแบบนี้จะต้องมีการวางแผนทางการเงินให้ดี แล้วก็หาข้อมูลในสินทรัพย์ที่จะลงทุนให้ดีก่อนการลงทุนเสมอไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้การลงทุนนั้นไม่ต่อเนื่อง อาจทำให้เสียผลประโยชในช่วงเวลานั้นๆไปก็ได้
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้